วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แผนการจัดการเรียนรู้ ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน

แผนการจัดการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เรื่อง ความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 42101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

1. สาระสำคัญ
r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A ´ B

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เขียนแทนความสัมพันธ์และฟังก์ชันในรูปต่าง ๆ เช่น สมการ กราฟ และตารางได้

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ : นักเรียนสามารถ
1. เขียนเซตของความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้
ด้านทักษะ/กระบวนการ : นักเรียนมีความสามารถ
2. การให้เหตุผล
3. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้
4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ : นักเรียน
5. ทำงานเป็นระบบ มีความรอบคอบ
6. มีวินัย
7. มีเจตคติต่อการเรียนการสอน

4. การบูรณาการกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ
1. นักเรียนรู้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน และสามารถเขียนความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ความมีเหตุผล
2. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ เชื่อมโยง ความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันอย่าง
สมเหตุสมผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
3. นักเรียนใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการพอประมาณ มีเหตุผลในแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นปกตินิสัย
เงื่อนไขความรู้
4. นักเรียนมีความรู้เรื่องความสัมพันธ์ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
เงื่อนไขคุณธรรม
5. นักเรียนมีความรอบคอบ ทำงานเป็นระบบ วินัย และมีเจคติต่อการเรียนการสอน

5. สาระการเรียนรู้
ความสัมพันธ์ (Relations)
r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A ´ B


ความสัมพันธ์ของสองสิ่งเกี่ยวข้องกันภายใต้กฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และของสองสิ่งนั้นจะเป็นคู่อันดับได้เสมอ

6. รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ การอุปนัย (Induction)

7. กิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดที่ 2 นักเรียนคนใดทำแบบฝึกหัดถูกต้อง มากที่สุดครูกล่าวชมเชย และอธิบายเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่ยังไม่เข้าใจ
จนกว่าจะเข้าใจ
2. ครูนำข้อความต่อไปนี้ ติดบนกระดาน
นายสมปอง นางสาวสมศรี และนางสาวสมถวิล เป็นพี่น้องกัน นายสมปองเป็น
พี่คนโต นางสาวสมศรีเป็นน้องคนสุดท้อง ต่อมานางสาวสมถวิล แต่งงานกับ
นายสมชาย มีลูก 2 คน คือ ด.ช.สมบัติ และด.ญ.สมใจ
แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ต่อไปนี้
นางสาวสมศรี เป็น ....................................ของ ด.ช.สมบัติ (น้า)
นายสมชาย เป็น ....................................ของ นายสมปอง (น้องเขย)
ด.ญ.สมใจ เป็น ....................................ของ นางสมศรี (หลาน)
นายสมปอง เป็น ....................................ของ ด.ช.สมบัติ (ลุง)

ครูชี้แจงให้นักเรียนทราบว่า ลักษณะที่ยกตัวอย่างนี้เป็นความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันของครอบครัวไทย นอกจากความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว เรายังสามารถนำความสัมพันธ์ต่าง ๆ มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ได้ ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าคาบนี้จะเรียนเรื่องความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
4. ครูยกตัวอย่างจำนวนสองจำนวนใด ๆ เช่น 2 และ 4 แล้ว ให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาดูว่าจำนวนทั้งสองเกี่ยวข้องกันอย่างไร นักเรียนอาจตอบได้หลายแบบ เช่น
2 น้อยกว่า 4
2 x 2 เท่ากับ 4
2 เป็นรากที่สองที่เป็นบวกของ 4
22 เท่ากับ 4
5. ครูให้นักเรียนตัวแทนแต่ละแถวยกตัวอย่างจำนวน 2 จำนวนใด ๆ แล้วให้นักเรียนร่วมกันสรุป คำว่า ”น้อยกว่า” “เท่ากับ” “เป็นรากที่สองที่เป็นบวกของ” เป็นคำที่ใช้แทนความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน 2 จำนวน
6. นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างความสัมพันธ์ โดยบอกชื่อเพื่อนมา 2 คน แล้วบอก
ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนทั้งสองคน เช่น “สูงกว่า” “เรียนเก่งกว่า” “ดำกว่า” “ขาวกว่า”
7. ครูใช้การถามตอบ เพื่อนำไปสู่การสรุปว่า ความสัมพันธ์ของสองสิ่งเกี่ยวข้องกันภายใต้กฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และของสองสิ่งนั้นจะเป็นคู่อันดับได้เสมอ
8. ครูให้นักเรียนทุกคนทำใบงานที่ 3 เรื่อง “ความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน” ขณะที่นักเรียนทำใบงานครูคอยสังเกตการทำงานของนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นักเรียนยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน และสามารถนำความรู้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันอย่างความเหมาะสม มีความพอประมาณ เมื่อเสร็จแล้วให้เพื่อนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ครูอธิบายเพิ่มเติม

8. สื่อการเรียนรู้
ใบงานที่ 3 เรื่อง “ความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน”

9. การวัดผลและประเมินผล
1. วิธีการวัด
ตรวจชิ้นงานจากใบงานที่ 3 เรื่อง “ความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน”
2. เครื่องมือวัด
2.1 ใบงานที่ 3 เรื่อง “ความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน”
2.2 แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน
3. เกณฑ์การวัด
ผลการประเมินแบบบันทึกการปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าระดับคุณภาพดี